ระบบยื่นคำขอ

ระบบฐานข้อมูลการเรียนรู้ออนไลน์

IPOP Licensing

icon th

พิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง ม.สงขลานครินทร์ และบจก.ซีไอพี กรุ๊ป

       ม.อ. ชูผลงานวิจัยและนวัตกรรม "จากหิ้งสู่ห้าง" วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2562 เวลา 14.30 – 15.00 น. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คุณเมธา จารัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีไอพี กรุ๊ป จำกัด ได้ร่วมลงนามความร่วมมือการส่งเสริมผลงานวิจัย/นวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ณ ห้องประชุมอินเวนชั่น ชั้น 12 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

       สำหรับความร่วมมือของ 2 หน่วยงาน เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมผลงานวิจัยและนวัตกรรม ผ่านการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ บริษัท ซีไอพี กรุ๊ป จำกัด เพื่อการนำผลงานวิจัย/นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สังคม และอื่นๆ ทั้งในส่วนของภาคนโยบาย และภาคปฏิบัติ เพื่อการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาผลงานวิจัย/นวัตกรรมทางด้านการเกษตร การประมง การปศุสัตว์ อาหาร อุตสาหกรรมการผลิต สุขภาพและการแพทย์ ตลอดจนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานและสังคม จึงมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ในการกำหนดแนวทางการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ให้ได้จริงและเป็นรูปธรรม เพื่อก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ

  1.  การวิเคราะห์และแสวงหาตลาดของงานวิจัย/นวัตกรรม โดยการวิเคราะห์เป้าหมายของกลุ่มงานวิจัยที่จะทำการส่งเสริมการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และจัดทำกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดของกลุ่มผลงานวิจัย/นวัตกรรมนำร่อง และ ร่วมกันคัดเลือก ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพพร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม หรือการนำเสนอโจทย์ปัญหา/ความต้องการเทคโนโลยี/นวัตกรรม ที่ได้จากการวิเคราะห์ เพื่อที่จะร่วมกันพัฒนาสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
  2.  การพัฒนาศักยภาพผลงานวิจัย/นวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ ทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมกันจัดหาและสนับสนุนทรัพยากร เช่น องค์ความรู้ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้ผลงานวิจัย/นวัตกรรม ที่ผ่านการคัดเลือกมา สามารถพัฒนาต่อจนนำเข้าสู่ตลาดได้ โดยสามารถจัดทำโครงการย่อยเพื่อพัฒนาให้ตอบสนองกับความต้องการของตลาดโดยสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ตามความเหมาะสม อาทิ การจัดทำผลงานต้นแบบ (Prototype) จัดทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์ (Feasibility Study) การจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) การทดสอบทางการแพทย์ (Clinical Trial) การพิสูจน์เทคโนโลยี (Proof Technology) การพิสูจน์ตลาด (Proof Market) การขึ้นทะเบียนหรือรับรองมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้ผลงานวิจัย/นวัตกรรมพร้อมนำไปสู่การใช้งาน และ
  3. การส่งเสริมผลงานวิจัย/นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมกันกำหนดแนวทางในการนำผลงานวิจัย/นวัตกรรมที่ผ่านการเตรียมความพร้อมมาแล้วไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น การอนุญาตใช้สิทธิ (Licensing) การจัดตั้งธุรกิจใหม่ (Startup) การเป็นตัวแทนในด้านการตลาดและการขาย (Agency/Dealer) หรือร่วมลงทุน (Joint Venture) เป็นต้น

 

—————————
PSU Science Park "Where Science and Technology Harmonize with Business"
#PSUSciencePark #PSU #IPOPPSUSP #SouthernThailandSciencePark #Professional #Science #Unity

เกี่ยวกับเรา

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จ.สงขลา)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ส่วนขยาย

หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อว.ม.อ. : ภายใน 02-1404
สายตรง 0-7485-9516 โทรสาร: 074-859511

E-mail: ipop.psusp@gmail.com 
Website: https://ipop.psu.ac.th  

©2024 IPOP.PSU.AC.TH. All Rights Reserved.

Search

Language